วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การบริหารจิตและเจริญปัญญา

         การบริหารจิตและเจริญปัญญา
         พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนที่เน้นเรื่อง การฝึกควบคุมการ วาจาและจิตใจไปพร้อมกัน ทั้งนี้เพราะพระพุทธศาสนาถือว่าเมื่อกาย วาจา สงบนิ่ง และควบคุมจิตให้สนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงเรื่องเดียว ความรู้ความเข้าใจตามสภาพความเป็นจริงก็จะเกิดขึ้นตามมา การควบคุมกาย วาจา ให้สงบเรียบร้อย เรียกว่า ศีล การควบคุมจิตให้สนใจสนใจเพียงเรื่องเดียว เรียกว่า สมาธิ ความรู้ ความเข้าใจตามสภาพความเป็นจริง เรียกว่า ปัญญา ทั้งศีล สมาธิ และปัญญา รวมเรียกว่า ไตรสิกขา กล่าวเฉพาะสมาธิและปัญญา พระพุทธศาสนาได้แสดงวิธีควบคุมที่เรียกว่า การบริหารจิตและการเจริญปัญญา อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต

พระไตรปิฎก : โครงสร้าง ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันตปิฎก 
ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันปิฎก
         พระสูตร หรือที่เรียกในทางวิชาการว่า พระสุตตันปิฎก เป็น 1 ใน 3 ปิฎก มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากพระวินัยปิฎกและ
พระอภิธรรมปิฎก คือ เป็นการแสดงพระธรรมเทศนาที่มี บุคคล เหตุการณ์และสถานที่เข้ามาประกอบที่เรียกว่า บุคลาธิษฐาน โดยที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภบุคคลเป็นต้น แล้วทรงถือโอกาสแสดงธรรมเทศนา ที่มีลักษณะเป็น ธรรมาธิษฐานบ้าง แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย  อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

                                  หลักธรรมสำคัญของพระพุทธศาสนา
     1.ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ คือ องค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ที่ประกอบด้วยรูปและนาม
            รูป คือ ส่วนที่เป็นร่างกาย ประกอบด้วยธาตุ 4 ได้แก่
    - ธาตุดิน(ส่วนของร่างกายที่เป็นของแข็ง เช่น เนื้อ กระดูก ผม)
    - ธาตุน้ำ (ส่วนที่เป็นของเหลวของร่างกาย) เช่น เลือด น้ำลาย น้ำเหลือง น้ำตา )
    - ธาตุลม (ส่วนที่เป็นลมของร่างกาย ได้แก่ ลมหายใจเข้าออก ลมในกระเพาะอาหาร)
    - ธาตุไฟ ( ส่วนที่เป็นอุณหภูมิของร่างกาย ได้แก่ ความร้อนในร่างกายมนุษย์) อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 วันสําคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี

        ๑.วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ระเบียบพิธี พิธีเวียนเทียน การปฏิบัติตนในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นวันที่ชาวพุทธทั่วโลกยอมรับนับถือกันว่ามีความสำคัญเกี่ยวข้องโดยตรงกับพระรัตนตรัย และเหตุการณ์สำคัญอื่น ๆ ในรอบหนึ่งปีกำหนดไว้ ๖ วัน คือ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 พุทธประวัติและชาดก

    ๑. พุทธประวัติ
            ๑.๑  ผจญมาร  เมื่อพระมหาสัตว์  ทรงรับหญ้ากุสะ ๘กำจากพราหมณ์ชื่อโสตถิยะแล้ว  ทรงนำไปปูลาดเป็นอาสนะที่โคนต้น “อัสสัตถะ” (ต่อมาเรียกต้นพระศรีมหาโพธิ์) ประทับนั่งผินพระพักตร์ไปทางแม่น้ำเนรัญชรา ทรงตั้งสัตยาธิฐานว่า “ตราบใดที่ยังไม่บรรลุด้วยความพยายามของบุรุษ  ด้วยเรี่ยวแรงองบุรุษ  แม้ว่าเลือดและเนื้อจะเหือดหายไป เหลือแต่หนังและกระดูกก็ตามทีเราจะไม่ลุกขึ้นจากอาสนะนี้” พญามารร้องบอกให้พระองค์เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะว่า “บัลลังนี้เป็นของข้า ท่านจงลุกขึ้นเดียวนี้”       อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา

   ความสำคัญของพระพุทธศาสนา                                                                                          พระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากลและมีข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลาง
คำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาเป็นหลักความจริงที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติที่พระองค์ได้ทรงค้นพบ โดยมิได้ทรงสร้างขึ้นเอง และมิได้ทรงรับคำสั่งสอนจากเทพเจ้าหรือพระเจ้าองค์ใดทั้งสิ้น การบรรลุธรรมด้วยตนเองโดยอบธรรม โดยคนนั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้าด้วยกันทั้งนั้น เพราะคำว่า พุทธ แปลว่า ผู้รู้หรือ ผู้รู้สัจธรรม การที่พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนที่เหมาะสมกับบุคคลทุกระดับชั้นและมีคุณค่าต่อชีวิตของผู้ประพฤติปฏิบัตินี้เอง จังเป็นที่ยอมับกันโดยทั่วไปว่ามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากลและมีข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลาง อ่านเพิ่มเติม